tidtoon สนเน
อนิเมะ mappa

หัวข้อ

อนิเมะ mappa

MAPPA หนึ่งในสตูดิโอผลิตแอนิเมชั่นที่แฟน ๆ อนิเมะหลายคนยกให้เป็นหนึ่งในสตูดิโอผลิตแอนิเมชั่นที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะทำงานสักแค่ไหน งานจิตรกรรม ก็เรียกได้ว่าสวย ความละเอียดและการปรับปรุงงาน ถือเป็นหนึ่งในสตูดิโอที่ดีที่สุดในโลกแห่งอนิเมชั่น อนิเมะ mappa

ปีที่แล้วปี 2021 มีอนิเมะจาก MAPPA หลายเรื่องและคิวแน่นมาก จนถึงปี 2022 อนิเมะบางเรื่องก็ยังไม่ได้ออกอากาศ แต่แน่นอนว่าปี 2021 เป็นปีที่แฟนๆ อนิเมะจำนวนมากได้รู้จัก Studio มากขึ้น แผนที่ จากความนิยมชมชอบนี้เองทำให้ทางเว็บไซต์ Akiba-Souken จัดทำแบบสำรวจ “อนิเมะจากสตูดิโอ MAPPA ที่ชื่นชอบมากที่สุด” ขึ้นมา มีผู้ร่วมลงคะแนนโหวตทั้งหมด 1,453 คะแนนโหวต และผล 10 อันดับที่แฟน ๆ ชื่นชอบที่สุดมีดังนี้!

อนิเมะ mappa ถือกำเนิดจากกลุ่มคนมือเก๋าในวงการอนิเมะ

ย้อนกลับไปไกลในช่วงปี ค.ศ.1972 คุณมาซาโอะ มารุยามะ (Masao Maruyama) ได้ร่วมมือกับเพื่อนที่เคยทำงานอนิเมะด้วยกันออกมาร่วมกันก่อตั้งบริษัทชื่อ Madhouse และสตูดิโออนิเมชั่นดังกล่าวก็ทำงานอย่างโดดเด่นในอุตสาหกรรมอนิเมะอย่างมั่นคง

เวลาล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ.2011 แม้ว่าคุณมาซาโอะ จะมีอายุเข้าสู่วัย 70 ปี แล้ว เขาก็เกิดความเหนื่อยหน่ายในภาวะของบริษัทใหญ่ที่เริ่มทำงานเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น ความริเริ่มในเชิงศิลป์กลับมาน้อยลง และการหาทุนสร้างอนิเมะในยุคนี้ก็มีแนวทางอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เขาจึงทำการลาออกจากบริษัทที่เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง แล้วออกมาก่อตั้ง MAPPA เพื่อสร้างงานใหม่ตามแนวทางที่ตัวเองต้องการได้มากขึ้น

การขยับมาเปิดตัวสตูดิโอแห่งใหม่ของมือเก๋าในวงการ จึงทำให้คนที่ชื่นชมการทำงานของเขา เขยิบตัวไปรวมกันที่ MAPPA ไม่ว่าจะเป็น คุณชินิจิโระ วาตานาเบะ (Shinichiro Watanabe) ที่เคยกำกับงานอย่าง Cowboy Bebop, คุณซูนาโอะ คาตาบูจิ (Sunao Katabuchi) ที่เคยกำกับอนิเมะ Black Lagoon รวมไปถึง คุณมานาบุ โอซึกะ (Manabu Ohtsuka) ที่ปัจจุบันรับตำแหน่งประธานบริษัท ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า ในช่วงแรกของการก่อตั้งนั้น ไม่ต่างอะไรกับกองโจรสลัด ที่รวมพลคนมีฝันในการสร้างงานอนิเมะที่ดี

ถึงจะก่อตั้งสตูดิโอกันแบบสดใหม่ แต่แผนงานแรกๆ ที่พวกเขาคิดกัน กลับเป็นงานสเกลใหญ่อย่างภาพยนตร์อนิเมะ In This Corner Of The World อย่างไรก็ตามความต้องการของทีมงานจากภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นงานละเมียดละไมอย่างมาก ตัวงานจึงต้องอยู่ในขั้นตอนพรีโปรดักชั่นกันไปอีกระยะหนึ่ง

และทำให้ คุณมาซาโอะกับคุณชินิจิโระหยิบจับเอาแผนงานที่เคยคิดกันไว้ตั้งแต่ตอนทำงานร่วมกันที่ Madhouse มาพัฒนาต่อยอดให้เป็นความจริง โดยดึงตัว คุณคาโนะ โยโกะ (Kanno Yoko) นักประพันธ์เพลงชื่อดังของญี่ปุ่นให้มาร่วมงานใหม่ที่มีดนตรีเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

จนกระทั่งในปี ค.ศ.2012 Kids On The Slope (หรือชื่อญี่ปุ่น Sakamichi No Apollon) คือผลงานอนิเมะเรื่องแรกของทาง MAPPA ที่นำมังงะของอาจารย์ยูกิ โคดามะ (Kodama Yuki) ที่เล่าเรื่องของกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบดนตรีแจ๊ส และปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวละครหลักในเรื่อง ที่มีทั้งปมความรักระหว่างผู้ชายกันเอง และเรื่องปมด้านคาธอลิกในประเทศญี่ปุ่น

และทาง MAPPA ยังสามารถดีลงานให้ไปฉายอยู่ในช่วง noitaminA ของทาง Fuji TV ที่ต้องการงานอนิเมะที่มีการนำเสนอเปิดกว้างกว่างานเฟรนไชส์หรืองานขายสินค้าแบบตั้งใจ การเริ่มต้นด้วยงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ ทำให้คนดูอนิเมะและคนทำงานในอุตสาหกรรมการ์ตูนทราบว่า สตูดิโอแห่งนี้ไม่ได้เป็นแค่งานอดิเรกหลังเกษียณของคนรุ่นเก๋า แต่เป็นความพยายามที่จะสร้างอะไรสดใหม่แบบจริงจัง

สำหรับท่านที่สงสัยว่า MAPPA นั้นมีความหมายใดไหม ส่วนนี้เคยมีการอธิบายไว้ว่าเป็นชื่อย่อมาจากคำว่า Maruyama Animation Produce Project Association แต่ในการตอบคำถามผ่านสื่อบางเจ้า คุณมาซาโอะที่เป็นผู้ก่อตั้ง ได้ระบุว่าชื่อของสตูดิโอมาจากคำว่า Mappadaka (真っ裸) ที่แปลว่า ‘เปลือยเปล่าอย่างสมบูรณ์’

สร้างงานที่บ่งบอกตัวตน

เมื่อผลักดันผลงานเรื่องแรกของไปแล้ว MAPPA ก็วนเวียนกับงานดัดแปลงจากสื่ออื่นมาอีกระยะหนึ่ง ก่อนเวลาจะล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ.2014 ที่ MAPPA จะเข็นงานออริจินัลของตัวเองอย่างเรื่อง Terror In Resonance ออกมา ตัวอนิเมะเรื่องดังกล่าวเล่าเรื่องของ วัยรุ่นลึกลับสองคนที่พยายามก่อการร้ายในกรุงโตเกียว ที่เกี่ยวพันกับจุดกำเนิดของพวกเขาอนิเมะดังกล่าวได้กลับไปฉายในช่วง noitaminA อีกครั้ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เกาะกระแสตลาดในช่วงนั้น แต่ด้วยความตั้งใจทำจนเห็นได้ชัดทำให้อนิเมะเรื่องดังกล่าว ถูกชื่นชมในฐานะงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของปีนั้น และกลายเป็นหนึ่งในผลงานการ์ตูนจากญี่ปุ่นที่ถูกทางประเทศจีนแบน เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงกับการก่อการร้าย ซึ่งเชื่อว่ามาจากความจริงจังในการเล่าเรื่องนั่นเอง

หลังจากนั้น MAPPA ก็มีโอกาส ได้สร้างอนิเมะที่คนคาดไม่ถึงอีกหลายเรื่อง อย่างเช่น การทำงานร่วมกับ Studio VOLN (ซึ่งเป็นสตูดิโออีกแห่งหนึ่งที่แยกตัวมาจาก Madhouse) ในการสร้างอนิเมะ Ushio To Tora แบบไล่เรียงตั้งแต่ต้นจนจบตามมังงะต้นฉบับที่คนเคยเชื่อว่ายากที่จะเกิดขึ้นได้, Garo The Animation อนิเมะที่ขยายเรื่องราวจากซีรีส์โทคุซัทสึดัง, Rage Of Bahamut: Genesis ที่ทำให้ MAPPA มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทาง Cygames ในเวลาต่อมา

และในช่วงปี ค.ศ.2015 ทาง MAPPA ก็เริ่มเปิดรับการระดมทุนในการสร้างภาพยนตร์ In This Corner Of The World ที่ทำยอดระดมทุนได้สูงถึง 32 ล้านเยน ก่อนที่จะมีการระดมทุนระลอกที่มียอดการลงทุน 10 ล้านเยน และทำให้ คุณมาซาโอะกับคุณซูนาโอะได้ออกเดินทางไปหลายๆ ประเทศ เพื่อพูดถึงผลงานภาพยนตร์ที่พวกเขากำลังพัฒนาและงานของทาง MAPPA ในช่วงนั้น และทำให้นายทุนรายอื่นๆ สนใจในการทำงานร่วมกับสตูดิโออนิเมชั่นแห่งนี้ที่ ณ ช่วงนั้น ก็ยังมีงานอีกหลายชิ้นอยูในช่วงบ่มเพาะกันอยู่

รู้ตัวอีกที เวลาก็ล่วงเลยเข้าสู่ปี ค.ศ.2016 กันซะแล้ว และปีดังกล่าวถือว่าเป็นปีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับ MAPPA อย่างแท้จริง

2016 ปีที่โลกต้องจดจำชื่อ MAPPA

สำหรับบริษัทหลายบริษัทแล้ว 5 ปี อาจจะไม่ได้เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากนัก แต่สำหรับ MAPPA ที่มีเป้าหมายในการสร้างผลงานเฉพาะตัวมาตั้งแต่เริ่มต้น ปีที่ 5 ของพวกเขาถือว่าเป็นปีที่ผลผลิตของความพยายามได้ผลิดอกออกผลให้เห็นถึงสองเรื่อง

เรื่องแรกอนิเมะซีรีส์ Yuri!!! On Ice อนิเมะที่เล่าเรื่องของนักกีฬาฟิกเกอร์สเก็ต ที่หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเต็มไปด้วยความสวยงามและความมั่นใจ แต่ในตัวอนิเมะ แต่ในเรื่องนั้นกลับนำเสนอในมุมของนักกีฬาจำนวนมาก ที่ต้องผ่านพ้นกำแพงหลายด้าน, ความลังเล และความซึมเศร้า เพื่อทำการแสดงผลงานที่ยอดเยี่ยมในช่วงเวลาแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น กับตัวละครที่มีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ, วัฒนธรรม และเพศวิถี

ถึงจะเป็นการ์ตูนและเป็นเรื่องแต่งอย่างเต็มตัว ตัวซีรีส์มีความสมจริงอยู่มาก ทั้งในแง่ท้องเรื่องและพัฒนาการของตัวละคร ที่ต้องยกความดีความชอบให้กับ คุณมิตสึโร คุโบ (Mitsurou Kubo) นักเขียนมังงะที่ผันตัวมาเป็นผู้เขียนบทต้นฉบับ ก่อนที่คุณซาโย ยามาโมโตะ (Sayo Yamamoto) จะรับหน้าที่ดัดแปลงบทและเป็นผู้กำกับของอนิเมะ ที่ค้นหาข้อมูลอย่างเข้มข้น

จนทำให้อนิเมะเรื่องนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทั้งจากกลุ่มคนชอบการ์ตูน กลุ่มนักกีฬาฟิกเกอร์สเก็ตตัวจริง ไปจนถึงคนท้องถิ่นของตัวละครที่ปรากฏตัวในเรื่องก็มาสนใจงานที่เก็บรายละเอียดความหลากหลายนี้ (อย่างในไทยเองหลายคนน่าจะประทับใจกับรายละเอียดของ อิมพีเรียลสำโรง และความติด IG ของตัวละคร พิชิต จุฬานนท์ เป็นอาทิ)

ผลงานอีกเรื่องที่โดดเด่นของ MAPPA ในปีนี้ก็คือภาพยนตร์ In This Corner of the World ที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมทีมงานรุ่นเก๋ากับเหล่าทีมงานรุ่นใหม่ที่ชื่นชมแนวทางการทำงานของรุ่นพี่ให้มารวมตัวกันที่ MAPPA ตัวภาพยนตร์ได้ออกฉายในช่วงเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ.2016

และด้วยความตั้งใจของทีมสร้าง ทำให้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องหญิงสาวที่เคยใช้ชิวิตอย่างธรรมดา จนกระทั่งแทบทุกอย่างในชีวิตของเธอต้องพลิกผันไปด้วยการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮีโร่ชิม่า กลายเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นที่ได้รับความนิยมเข้าตาทั้งในฝั่งผู้ชมและนักวิจารณ์อย่างพร้อมเพรียง

ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวกลายเป็นผลงานที่ติดอันดับใน Box Officre ของประเทศญี่ปุ่นยาวนานถึง 1,133 วัน กวาดรางวัลจากเวทีการประกวดทั้งในบ้านเกิด และในเวทีระดับนานชาติอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายตัวภาพยนตร์ก็ถูกสร้างภาคขยายเรื่องราวและได้ออกฉายในช่วงปี ค.ศ.2019

และในปี ค.ศ.2016 ก็มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้นที่ MAPPA เช่นกัน เพราะคุณมาซาโอะ มารุยามะที่เป็นผู้ก่อตั้ง ได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทแห่งนี้ เพื่อไปก่อตั้งบริษัทแห่งใหม่ Studio M2 และรับหน้าที่ในการผลิตอนิเมะที่มาจากเฟรนไชส์ Garo เป็นการต่อไป

อย่างไรก็ตามถ้าอ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ของตัวคุณมาซาโอะในหลายๆ สื่อ การจากลาครั้งนี้ไม่ได้เป็นออกไปในทางร้าย แต่เป็นการขยับตัวไปทำงานในด้านงานพรีโปรดักชั่นกับการวางแผนงานมากขึ้น ซึ่งอาจจะเหมาะสมกับวัยของตัวคุณมาซาโอะอีกด้วย

รักษาสมดุลระหว่างงานพาณิชย์กับลูกบ้าของคนทำงาน

หลังจากปล่อยผลงานที่โดดเด่นไปในช่วงปี ค.ศ.2016 แล้วMAPPA ก็กลายเป็นชื่อที่ถูกจดจำมากขึ้นในอุตสาหกรรมอนิเมะ ทั้งในแง่ที่สามารถผลิตงานที่มีความละเมียดในตัว และสามารถดัดแปลงผลงานที่หลายคนเคยเชื่อว่าไม่อาจจะทำเป็นอนิเมะได้ออกมาให้เห็นหลายเรื่อง จนทำให้เห็นได้ชัดว่า MAPPA ได้รับการว่าจ้างเพิ่มมากขึ้น

อย่างเช่น การรับงานจากทาง Cygames ที่เริ่มต้นด้วยการว่าจ้างให้ทำอนิเมะ Rage Of Bahamut: Genesis, Rage of Bahamut: Virgin Soul และ Granblue Fantasy the Animation Season 2 นอกจากนี้ทาง Cygames ยังเริ่มร่วมทุนในการสร้างอนิเมะ ทั้งภาพยนตร์ In This Corner Of The World กับ Yuri On Ice! ก่อนที่จะมาเป็นหนึ่งในนายทุนหลักของอนิเมะ Zombie Land Saga ร่วมกับทางบริษัท Avex

งานดัดแปลงมังงะร่วมสมัยอย่าง Kakegurui และ Kakegurui xx หรือที่แฟนการ์ตูนชาวไทยคุ้นเคยกับชื่อ โคตรเซียนโรงเรียนพนัน กับเรื่อง Inuyashiki ก็เป็นการพิสูจน์อีกครั้งว่า MAPPA สามารถทำการดัดแปลงมังงะที่มีจังหวะการเล่าเรื่องเฉพาะตัว ให้กลายเป็นอนิเมะที่ได้อรรถรสเข้มข้นไม่แพ้กับตัวต้นฉบับ

อย่างนี้หมายความว่า MAPPA ได้เสียตัวตนไปให้กับโลกทุนนิยมแล้วหรือเปล่า ส่วนตัวของผู้เขียนบทความคิดว่า ไม่น่าจะเป็นแบบนั้นเสียทีเดียว เห็นได้จากการที่ MAPPA ยังมีงานดัดแปลงมาจากมังงะที่น่าสนใจ ก่อนที่จะมีการหยิบจับมาปรุงรสให้เข้ากับผู้ชมในยุคปัจจุบันมากขึ้น และอนิเมะทั้งสองเรื่องก็มีเสน่ห์จากการที่ทีมสร้างอนิเมะใส่องค์ประกอบบางอย่างที่ไม่มีในต้นฉบับดั้งเดิม อย่างเรื่อง Banana Fish หรือ Dororo อยู่

นอกจากนี้ในบทสัมภาษณ์ของทีมงาน MAPPA มีการบอกเล่าอยู่หลายครั้งว่าทาง Cygames ที่ลงเงินในงานผลิตอนิเมะของพวกเขาหลายเรื่อง จนน่าจะเข้ามายุ่มย่ามในการสร้าง แต่กลับเปิดกว้างให้กับทีมงานในการเล่าเรื่องราวบนสื่ออนิเมะอยู่เสมอ ทำให้อนิเมะที่ดัดแปลงมาจากเกมของทาง Cygames จะมีลูกบ้าบางประการจากทีมงานที่ทำให้งานมีเสน่ห์ชวนติดตาม โดยที่ผู้ติดตามเรื่องราวไม่ต้องกระโดดเข้าไปติดตามเกมต้นฉบับแต่อย่างไร

 

บทความที่เกี่ยวข้อง